Breaking News

KKP Research โดยเกียรตินาคินภัทร ประเมินว่าตลาดหุ้นไทยกำลังเผชิญแรงกดดันจากปัจจัยมหภาคหลายด้าน ทั้งเศรษฐกิจในประเทศที่ฟื้นตัวช้า นโยบายการเงินที่ยังคงตึงตัว และแรงกดดันจากมาตรการภาษีระหว่างประเทศ ส่งผลให้ปรับลดเป้าหมายดัชนี SET ปี 2025 ลงเหลือ 1,230 จุด จากเดิม 1,460 จุด ซึ่งสะท้อนอัพไซด์เพียง 5% จากระดับปัจจุบัน นอกจากนี้ ในระยะสั้นยังมีความเสี่ยงที่ดัชนีจะปรับระดับลงไปทดสอบ 1,000 จุด ซึ่งอาจกระตุ้นให้ภาครัฐต้องออกมาตรการพยุงเศรษฐกิจ  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองทิศทางเศรษฐกิจไทย 2568 เสี่ยงหลายปัจจัยลบ ทำภาคการผลิตหดตัวติดต่อกันเป็นปีที่ 3 คาดแรงส่งจากการท่องเที่ยวช่วยฟื้นเศรษฐกิจได้แบบจำกัด ขณะที่ ยังคงประมาณการจีดีพีปี 2568 เติบโตที่ 2.4% *** KKP Research ประเมินว่าเศรษฐกิจไทย ปี 2025 มีแนวโน้มโตได้ช้าลงกว่าที่ประเมินไว้ โดยคาดว่าจะเติบโตได้เพียง 2.3% จากการที่จำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่กลับมาได้ต่ำกว่าที่คาด ธนาคารแห่งประเทศไทยน่าจะปรับลดดอกเบี้ยเพิ่มเติมอีก 3 ครั้ง โดยคาดว่าอัตราดอกเบี้ยอาจลงไปต่ำสุดที่ 1.25% ในปี 2026  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยเศรษฐกิจไทยปี 2567 โต 2.5% ต่ำกว่าคาดการณ์ไว้ที่ 2.6% เล็กน้อย GDP ไตรมาส 4 ขยายตัวที่ 3.2% YoY น้อยกว่าที่คาด หลักๆ เป็นผลจากสินค้าคงคลังที่หดตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้ามากกว่าที่คาด จากความความเชื่อมโยงระหว่างภาคการผลิตและการส่งออกที่ต่ำกว่าที่ประเมิน โดยแม้การส่งออกจะขยายตัวได้ดีในหลายสินค้า แต่การผลิตภาคอุตสาหกรรมยังแทบจะไม่ขยายตัว ขณะที่การผลิตภาคเกษตรขยายตัวต่ำ ทั้งเป็นผลจากการปรับฐานในไตรมาส 4/2566 ให้สูงขึ้นกว่าเดิม ส่งผลให้อัตราการขยายตัวในไตรมาส 4/2567 ต่ำกว่าที่คาดไว้  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยการส่งออกไทยในเดือน ธ.ค. 2567 ขยายตัว 8.7%YoY ส่งผลให้ทั้งปีขยายตัวได้ 5.4% โดยมีมูลค่าการส่งออกสูงเป็นประวัติการณ์ จากการเร่งส่งออกสินค้าและวัฏจักรขาขึ้นของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ • ในปี 2568 การส่งออกไทยมีแนวโน้มเติบโตได้ต่ำกว่าปี 2567 ที่ 2.5% โดยครึ่งปีแรกยังมีแรงหนุนจากการเร่งนำเข้าสินค้าและวัฏจักรขาขึ้นของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยเดือน ธ.ค. 2567 เร่งตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ 1.23% YoY สูงสุดในรอบ 7 เดือน และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเดือน ธ.ค. 2567 อยู่ที่ 0.79% YoY โดยมีปัจจัยหนุนหลักจากราคาพลังงานอย่างค่าไฟฟ้าและราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลที่ปรับสูงขึ้นจากปัจจัยฐานต่ำในเดือน ธ.ค. 2566 เนื่องจากมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพของทางภาครัฐ ประกอบกับราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มบางรายการปรับตัวสูงขึ้น

Brother ผนึกกำลัง Mitsubishi Electric เปิดตัวโซลูชันการพิมพ์ฉลาก PLC

Brother ผนึกกำลัง Mitsubishi Electric เปิดตัวโซลูชันการพิมพ์ฉลาก PLC
1
เขียนโดย intrend online 2025-04-29

พร้อมแนะนำเครื่องพิมพ์ 3 รุ่นไฮไลท์ รองรับงานผลิตรวดเร็ว แม่นยำ เจาะกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิต


กรุงเทพฯ 29 เมษายน 2568 – Brother ผู้นำโซลูชันด้านการพิมพ์จากประเทศญี่ปุ่น เดินหน้าตอบโจทย์ความท้าทายของลูกค้าภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมการผลิต ด้วยการพัฒนา โซลูชันการพิมพ์ฉลากจาก PLC (Print from PLC) อำนวยความสะดวกในการจัดทำฉลากด้วยระบบพิมพ์อัตโนมัติแทนการเขียนหรือพิมพ์ฉลากทีละชิ้นแบบดั้งเดิม ช่วยลดข้อผิดพลาดและระยะเวลาการทำงาน ประหยัดต้นทุนแรงงาน พร้อมเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการสินค้าในไลน์ผลิต นอกจากนี้ โซลูชันดังกล่าวยังสามารถทำงานร่วมกับ P-Touch ซอฟต์แวร์ออกแบบฉลากของ Brother ทำให้กระบวนการออกแบบฉลากสะดวกและรวดเร็วขึ้น พร้อมให้ขับเคลื่อนสายการผลิตและสร้างเติบโตอย่างมั่นคง

นายกิตติพงศ์ กนกวิไลรัตน์ ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายขายและการตลาด บริษัท บราเดอร์ คอมเมอร์เชี่ยล (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “Brother มุ่งเน้นการพัฒนานวัตกรรมเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่สอดรับกับกลุ่มเป้าหมาย อีกทั้งยังมีกลุ่มผลิตภัณฑ์หลากหลาย อาทิ กลุ่มเครื่องพิมพ์ เครื่องพิมพ์ฉลาก เครื่องสแกน จักรปัก เครื่องพิมพ์ผ้าระบบดิจิทัล ไปจนถึงเครื่องเสียงและอุปกรณ์ต่อพ่วง ฯลฯ ครอบคลุมความต้องการของตลาด ทั้งผู้ใช้งานแบบโฮมยูสเซอร์ ไปจนถึงกลุ่มผู้ประกอบการ B2B โดยล่าสุด Brother ได้เดินหน้าขยายฐานไปยังกลุ่มลูกค้าภาคธุรกิจ โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมการผลิต ทั้งโรงงานผลิตสินค้า โรงงานผลิตยานยนต์ และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านการชูผลิตภัณฑ์ กลุ่มเครื่องพิมพ์ฉลาก (Labelling Machines) ที่มีฟังก์ชันครบครันตามวัตถุประสงค์ของผู้ใช้งาน ทั้งการใช้งานภายในบ้าน สำนักงาน ธุรกิจขนาดเล็กไปจนถึงการใช้การในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ นับเป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมตัวช่วยสำคัญที่ทำให้การติดฉลากได้มาตรฐาน รวมไปถึงการตรวจสอบ ติดตาม และจัดการสินค้าสะดวก รวดเร็ว แม่นยำ และเป็นระบบมากยิ่งขึ้น”

สำหรับกลยุทธ์การนำเสนอผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเพื่อเจาะตลาดอุตสาหกรรมและภาคการผลิต Brother ได้มีการพัฒนา โซลูชันการพิมพ์ฉลากจาก PLC (Print from PLC) ที่สามารถพิมพ์ฉลากสินค้าแบบอัตโนมัติ ด้วยการเชื่อมต่อเครื่องพิมพ์ฉลากของ Brother เข้ากับระบบควบคุมเครื่องจักรและอุปกรณ์ในโรงงาน หรือ PLC (Programmable Logic Controller) จาก Mitsubishi Electric ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านระบบ PLC คุณภาพสูง โดยระบบ PLC จะทำหน้าที่ควบคุมไลน์การผลิตในโรงงาน เมื่อสินค้าหรือชิ้นส่วนอุปกรณ์ผ่านขั้นตอนการตรวจสอบคุณภาพเรียบร้อย ระบบดังกล่าวจะสั่งการให้เครื่องพิมพ์ฉลากของ Brother พิมพ์ฉลากแบบอัตโนมัติด้วยความแม่นยำสูง ได้ฉลากที่มีรายละเอียดข้อมูลตรงกับสินค้าทุกชิ้น

นายกิตติพงศ์ กล่าวเสริมว่า “เครื่องพิมพ์ฉลากจาก Brother มาพร้อมกับ ซอฟต์แวร์ออกแบบฉลาก P-Touch Editor ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถออกแบบปรับแต่งข้อมูลบนฉลาก เช่น รายละเอียดสินค้า บาร์โค้ด และคิวอาร์โค้ดสำหรับการติดตามสินค้า รวมถึงออกแบบองค์ประกอบบนฉลาก ด้วยฟังก์ชัน Drag & Drop ช่วยลดความซับซ้อนและระยะเวลาการจัดทำฉลากจากการเขียนโค้ดแบบดั้งเดิม อีกทั้งยังสามารถสร้างและบันทึกเทมเพลตฉลากที่ต้องการในระบบ โดยเมื่อเครื่องพิมพ์ฉลากได้รับคำสั่งพิมพ์จาก PLC ฉลากที่ออกแบบไว้จะถูกพิมพ์ออกมาให้ตรงกับข้อมูลสินค้าโดยอัตโนมัติ ซึ่งการผสานระหว่างโซลูชันการพิมพ์จาก PLC และซอฟต์แวร์ P-Touch ของ Brother จะทำให้การจัดทำฉลากมีประสิทธิภาพสูงสุด พร้อมควบคุมต้นทุนในกระบวนการผลิต รวมถึงลดขั้นตอนและข้อผิดพลาดที่เกิดจากการทำฉลากด้วยการเขียนหรือพิมพ์ทีละชิ้นได้อีกด้วย

 


ทั้งนี้ Brother มีเครื่องพิมพ์ฉลากสำหรับอุตสาหกรรมที่มีฟังก์ชันการใช้งานที่หลากหลาย โดดเด่นเรื่องความทนทาน ใช้งานง่าย ราคาประหยัด มาพร้อมซอฟต์แวร์ออกแบบฉลาก P-Touch และชุดโค้ดคำสั่งสำเร็จรูปสำหรับเชื่อมต่อเครื่องพิมพ์เข้ากับระบบ PLC พร้อมให้เลือกใช้ตามความต้องการ โดยเครื่องพิมพ์ฉลากรุ่นไฮไลต์ประกอบด้วย

· QL-820NWB: เครื่องพิมพ์ฉลากรุ่นพื้นฐาน ขนาดกระทัดรัด ให้ความเร็วในการพิมพ์สูงถึง 110 ฉลาก/นาที พร้อมหน้าจอ LCD รองรับการเชื่อมต่อ ทั้ง USB Wi-Fi และ Bluetooth เหมาะกับการใช้งานในร้านค้าปลีก ร้านอาหาร หรือโรงงานผลิตขนาดกลาง ในราคา 9,900 บาท

· TD-4420DN: เครื่องพิมพ์ฉลากอเนกประสงค์ รองรับกระดาษพิมพ์ที่มีความกว้างตั้งแต่ 19-118 มิลลิเมตร ให้ความเร็วในการพิมพ์สูงสุด 203.2 มิลลิเมตร/วินาที เชื่อมต่อผ่านสาย LAN และรองรับม้วนฉลากขนาดใหญ่ ช่วยลดความถี่ในการเติมฉลาก พร้อมมีแถบช่วยฉีกฉลาก เหมาะสำหรับคลังสินค้าที่มีการพิมพ์ฉลากจำนวนมาก หรือใช้ฉลากหลายรูปแบบ ราคา 11,900 บาท

· PT-P950NW: เครื่องพิมพ์ฉลากเทปลามิเนตความกว้างสูงสุด 36 มิลลิเมตร ให้ความเร็วในการพิมพ์ 60 มิลลิเมตร/วินาที เชื่อมต่อผ่าน USB, Wi-Fi และเชื่อมต่อกับเครือข่าย Ethernet ในโรงงานได้ รวมถึงมีฟังก์ชันตัดฉลากอัตโนมัติแบบ Half cut และพิมพ์บาร์โค้ดได้ถึง 21 รูปแบบ เหมาะสำหรับโรงงานที่ต้องการฉลากที่ทนทาน เช่น โรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ หรือระบบโลจิสติกส์ ราคาเพียง 15,990 บาท

สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม เกี่ยวกับเครื่องพิมพ์ฉลากจาก Brother และโซลูชัน PLC ล่าสุดได้ทาง www.brother.co.th/th-th/contents/manufacturing-print-plc หรือสั่งซื้อสินค้าได้ผ่านตัวแทนจำหน่ายของ Brother ทั่วประเทศ รวมถึงสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารล่าสุดจาก Brother ได้ผ่านช่องทาง Facebook / TikTok / YouTube / Instagram / X / Line Official: Brother Thailand